WELCOME TO THE WORLD OF EXOPLANET

An exoplanet is any planet beyond our solar system

WELCOME TO THE WORLD OF EXOPLANET

Exoplanets, planets beyond our solar system, whether orbiting other stars or floating freely between them, can make the planets closer to home look tame by comparison. “Hot Jupiters” are star-hugging, infernal worlds. “Super-Earths” are super mysterious. Frozen planets, gas giants that make Jupiter look puny, or small, rocky planets in Earth’s size range but in tight orbits around red dwarf stars – the catalog keeps growing

WELCOME TO THE WORLD OF EXOPLANET

THAI ROBOTICS TELESCOPES: TRT

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

การค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นหนึ่งเรื่องที่น่าตื่นเต้นและทักทายนักดาราศาสตร์ ปัจจุบันมีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบแล้วประมาณ 5,000 ดวง โดยวิธีการที่แตกต่างกัน ได้แก่ การหาความเร็วในแนวเล็ง (Radial velocity) เป็นวิธีการสังเกตการณ์การเลื่อนของสเปกตรัม วิธีการผ่านหน้าดาวฤกษ์ (Transit method) วัดการลดลงของแสงดาวฤกษ์แม่เมื่อมีดาวเคราะห์มาผ่านหน้า วิธีไมโครเลนส์ความโน้มถ่วง(gravitational microlensing) เมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง สนามความโน้มถ่วงของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์แม่จะประพฤติตัวเสมือนเลนส์ขยายแสงของดาวฤกษ์ฉากหลังให้สว่างมากขึ้น วิธีการวิธีถ่ายภาพโดยตรง (Direct imaging) เป็นการถ่ายภาพดาวเคราะห์นอกระบบโดยตรง ฯลฯ แต่วิธีการผ่านหน้าดาวฤกษ์เป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ด้วยเทคนิคนี้นักดาราศาสตร์สามารถค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบแล้วประมาณ 3,000 ดวง ตั้งแต่มีการส่งยานออกไปสำรวจอวกาศ ได้แก่ ยานอวกาศเคปเลอร์ (Kepler) ที่ถูกส่งในปี 2009 และยาน Transiting Exoplanet Survey Satellite (TESS) ถูกส่งในปี 2018 ด้วยความเรียบง่ายและไม่ซับซ้อนของวิธีนี้ทำให้นักเรียนสามารถใช้กล้องโทรทรรศน์ที่ขนาดไม่ใหญ่มากหนักในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบได้ ปัจจุบันนักเรียนได้ให้ความสนใจกับการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเป็นอย่างมาก แต่กระบวนค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบยังต้องอาศัยความรู้การถ่ายภาพการเก็บข้อมูลดาวเคราะห์นอกระบบ รวมถึงการลบสัญญาณรบกวน (Reduction) การวัดความสว่าง (Photometry) และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้คุณสมบัติของดาวเคราะห์นอกระบบ ส่วนใหญ่นักดาราศาสตร์มักจะเขียน code โดยภาษาคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนในงานวิจัย รวมทั้งงานวิจัยมักจะมาพร้อมเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและมีราคาแพงซึ่งอาจจะทำให้นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงสิ่งพวกนี้ได้ เพื่อให้งานวิจัยการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบนั้นง่ายต้องความเข้าใจและสามารถเข้าถึงได้นั้น ผู้วิจัยจึงเล้งเห็นความสำคัญเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ โดยนำสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ (Multimedia Interactive learning) บนเว็บไซต์มาช่วยเพิ่มประสบการณ์เสมือนกับได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบด้วยตัวเอง ดังนั้นผู้วิจัยจึงใด้ทำงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนแบบออนไลน์สำหรับประสบการณ์เหมือนจริงในการวิจัย ดาวเคราะห์นอกระบบโดยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ควบคุมอัตโนมัติขึ้น เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุดในการศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบ โดยงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง หลักสูตรออกไลน์ขนาดใหญ่แบบเปิด เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้เรื่องดาวเคราะห์นอกระบบนี้ ส่วนที่สอง การสังเกตการณ์ดาวเคราะห์นอกระบบด้วยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ควบคุมอัตโนมัติของประเทศ (Thai Robotic Telescope: TRT) ส่วนสุดท้ายการวิเคราะห์ผลข้อมูลกราฟแสงของดาวเคราะห์นอกระบบ งานวิจัยนี้จะพัฒนากระบวนทางวิทยาศาสตร์ เร่งประสิทธิการเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา นำไปสู่ ทักษะความคิดชั้นสูง(Higher-order thinking) ต่อไป

ONLINE COURSE

OBSERVATION

INTERACTIVE